Parnell, Charles Stewart (1846-1891)

นายซาลส์ สจวร์ต พาร์เนลล์ (พ.ศ. ๒๓๘๙-๒๔๓๔)

ชาลส์ สจวร์ต พาร์เนลล์ เป็นนักชาตินิยมชาวไอริชซึ่งเป็นสมาชิกสภาสามัญอังกฤษระหว่าง ค.ศ. ๑๘๗๕-๑๘๙๑ เขาเป็นผู้นำการต่อสู้เพื่อสิทธิการปกครองตนเองของไอร์แลนด์ (Irish Home Rule) ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ จนได้รับการ


ยกย่องอย่างสูงจากมวลหมู่ชาวไอริชและองค์กรคาทอลิกในไอร์แลนด์ทั้งๆ ที่พาร์เนลล์นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ และเป็นพันธมิตรทางการเมืองคนสำคัญของนายกรัฐมนตรีวิลเลียม อีวาร์ต แกลดสโตน (William Ewart Gladstone)* ของอังกฤษ แต่ในบั้นปลายชีวิต การมีความสัมพันธ์กับแคเทอรีนโอเช (Katherine O’ Shea) สตรีที่เขารักและสมรสด้วยทำให้เขาต้องเกี่ยวพันกับคดีฟ้องร้องจนอื้ออาวและมีผลกระทบอย่างหนักต่อชื่อเสียงและบทบาททางการเมืองของเขา

 พาร์เนลด์เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๔๖ ที่อาวอนเดล (Avondale) มณฑลริกโลว์ (Wicklow) ไอร์แลนด์ในตระกูลเก่าแก่เชื้อสายอังกฤษซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าของที่ดินมั่งคั่งที่นับถือนิกายไอร์แลนด์ (Church of Ireland) หรือนิกายแองกลิคัน (Anglicanism) ในอังกฤษ โดยเป็นตระกูลพ่อค้ามั่งคั่งจากมณฑลเชเชียร์ (Cheshire) ซึ่งอพยพมาอยู่ในไอร์แลนด์ เขาเป็นบุตรคนที่ ๗ ในจำนวน๑๑ คนของจอห์นเฮนรี พาร์เนลล (John Henry Parnell) มารดาชื่อ ดีเลีย ทิวเดอร์ สจวร์ต พาร์เนลล์ (Delia Tudor Stewart Parnell) ชาวอเมริกันจากเมืองบอร์เดินทาวน์ (Bordentown) รัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey) นางเป็นบุตรสาวของพลเรือจัตวา ชาลส์ สจวร์ต (Charles Stewart) วีรบุรุษอเมริกันในสงคราม ค.ศ. ๑๘๑๒ (War of 1812) ระหว่างอังกฤษกับสหรัฐอเมริกา กล่าวกันว่าพาร์เนลล์รับความรู้สึกเกลียดชังอังกฤษจากมารดาซึ่งแยกกันอยู่กับบิดาตั้งแต่เขาอายุ ๖ ขวบ เขาเข้าเรียนในโรงเรียนประจำของอังกฤษ ๓ แห่งซึ่งเป็นช่วงเวลาวัยเยาว์ที่ไม่มีความสุขนัก แห่งแรกคือโรงเรียนหญิงในโยวีล (Yeovil) เมืองซอเมอร์เชต (Somerset) ณ ที่นี่เขาล้มป่วยด้วยโรคไทฟอยด์จึงลูกพากลับมาเรียนที่บ้านเป็นการส่วนตัวต่อมาได้เข้าเรียนที่เคิร์กแลงลีย์ (Kirk Langley) มณฑลดาร์บีเชียร์ (Derbyshire) แต่เขาก็ถูกไล่ออก และแห่งที่ ๓ คือ โรงเรียนเกรตอีลิง (Great Ealing School) พาร์เนลล์ศึกษาต่อที่วิทยาลัยแมกดาเลน (Magdalen) แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge) และใน ค.ศ. ๑๘๖๙ เขาถูกสั่งพักการเรียนเพราะขาดเรียนบ่อยเนื่องจากมีปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับการจัดการเรื่องการเงินจากที่ดินมรดกที่ได้รับ จากบิดาซึ่งเสียชีวิตใน ค.ศ. ๑๘๕๙ แม้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่โตแต่พาร์เนลล์ก็ตัดสินใจไม่หวนกลับไปเรียนที่มั่นอีกและดูแลปรับปรุงที่ดินในถิ่นเกิดที่กำลังอยู่ในบรรยากาศคุกรุ่นด้วยความไม่พอใจรัฐบาลอังกฤษที่ใช้มาตรการรุนแรงปราบปรามสมาชิกขบวนการภราดรแห่งสาธารณรัฐไอร์แลนด์หรือไออาร์บี (Irish Republican Brotherhood-IRB) หรือฟีเนียน (Fenian) ซึ่งเป็นสมาคมลับที่เคลื่อนไหวต่อต้านอังกฤษมีการจัดตั้งสันนิบาตเพื่อการปกครองตนเอง (Home Rule League) ขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๗๐ เพื่อรณรงค์ให้ไอร์แลนด์ได้สิทธิปกครองตนเองจากอังกฤษในระดับท้องถิ่นใน ค.ศ. ๑๘๗๔ สมาชิก ๕๖ คนของสันนิบาตนี่ใด้รับเลือกตั้งเข้านั่งในสภาสามัญของอังกฤษซึ่งก็ได้ไปรวมกลุ่มจัดตั้งพรรคโฮมรูล (Home Rule Party) ขึ้นโดยมีไอแชก บัตต์ (Isaac Butt) ทนายความชาวดับลินเป็นผู้นำ

 ในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๘๗๕ พาร์เนลด์เข้าสู่สภา สามัญโดยได้รับเลือกตั้งจากมณฑลมีท (Meath) โดยสังกัดพรรคโฮมรูล ปีแรกในสภา พาร์เนลด์ซึ่งไม่ถนัดในการกล่าวปราศรัยนักจึงไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการอภิปราย แต่ภายใน๒ ปี บทบาทของเขาในสภาก็โดดเด่นจากการที่มีความแม่นยำกับขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ของสภาและแสดงตนว่าเห็นใจพวกชาตินิยมไอริช พาร์เนลล์เห็นว่าวิธีการประนีประนอมและเดินสายกลางของบัตต์ไม่ได้ผล หนทางที่จะให้อังกฤษหันมาสนใจจริงจังต้องใช้วิธีแข็งกร้าวพาร์เนลล์จึงร่วมมือกับโจเซฟ บิกเกอร์ (Joseph Bigger) นักชาตินิยมจากเมือง เบลฟัสต์ (Belfast) และเป็นสมาชิกสภาสูงสุดของไออาร์บีดำเนินยุทธวิธีขัดขวางกระบวนการผ่านกฎหมายของอังกฤษเพื่อเรียกร้องให้สมาชิกสภาให้ความสนใจต่อข้อเรียกร้องของไอร์แลนด์ รูปร่างที่สูงสง่า หน้าตาดี และมีความเป็นผู้นำทำให้เหล่าสมาชิกสภาไม่อาจมองข้ามพาร์เนลล์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๘๗๗ สหพันธ์เพื่อการปกครองตนเองแห่งบริเตนใหญ่ (Home Rule Confederation of Great Britain) ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรกับฟีเนียนได้เลือกพาร์เนลล์ เป็นประธานโดยปลดไอแซก บัตต์ซึ่งเป็นพวกสายกลางออกจากตำแหน่งทั้งๆ ที่เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรนี่พาร์เนลล์ในวัย ๓๑ ปี จึงกลายเป็นบุคคลที่ได้รับการจับตามองมากที่สุดในเรื่องการเมืองไอร์แลนด์

 ใน ค.ศ. ๑๘๗๘ วิกฤตการณ์ทางการเกษตรร้ายแรงทำให้เกิดความหวั่นเกรงว่าจะก่อผลร้ายแรงเหมือนเมื่อครั้ง เกิดทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ (Great Famine)* ในทศวรรษ ๑๘๔๐ ไมเคิล เดวิตต์ (Michael Davitt) สมาชิกขบวนการฟืเนียนจึงจัดตั้งสันนิบาตที่ดินแห่งไอร์แลนด์ (Irish Land League) ขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๗๙ เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวไร่ไอริชถูกเจ้าของที่ดินขับไล่อย่างง่ายดายและปรับปรุงความเป็นอยู่ของพวกเขา ในระยะยาวสันนิบาตนี่หวังจะเลิกล้มระบบเจ้าที่ดินในไอร์แลนด์และให้ผู้เช่าที่ได้ครอบครองไร่นาที่ทำกินอยู่โดยให้รัฐช่วยจัดซื้อที่ดินให้ในชั้นต้นสันนิบาตเรียกร้องอัตราค่าเช่าที่เป็นธรรม การระบุเวลาถือครองที่แน่นอนและเสรีภาพในการขาย (fair rent, fixity of tenure and freedom of sale หรือ three Fs) ชาวไอริชสายกลางจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับท่าทีแข็งกร้าวของสันนิบาตนี่ แต่พาร์เนลล์แสดงตนสนับสนุนชัดเจนและเห็นว่าควรปฏิเสธการคบหาใด ๆ กับเจ้าของที่ดินที่ปฏิบัติตนไม่เป็นธรรมต่อชาวไอริชผู้เช่าที่ ในการประชุมที่โรงแรมอิมพีเรียลกรุงดับลินเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๗๙ พาร์เนลล์ กลายเป็นประธานคนแรกของสันนิบาตตามคำเชิญของดาวิตต์ซึ่งพาร์เนลล์เคยพยายามให้สภาอังกฤษนิรโทษกรรมเขาจากการถูกจำคุกข้อหาลักลอบนำปืนและกระสุนเข้าไปในไอร์แลนด์ พาร์เนลล์เดินทางไปทั่วไอร์แลนด์เรียกร้องให้ชาวนาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันพึ่งตนเองและตระหนักในอำนาจของพวกตนที่จะควํ่าบาตรเจ้าของที่ดินชาวอังกฤษที่ขับไล่พวกเขา ซึ่งร้อยเอก ชาลส์ บอยคอตต์ (Charles Boycott) ผู้จัดการไร่รายหนึ่งถูกมาตรการควํ่าบาตรการคบหานี่จนประสาทเสีย และต้องขวนขวายหาทางจ้างแรงงานทำไร่จากที่อื่นชื่อสกุลของบอยคอตต์กลายเป็นศัพท์ในภาษาอังกฤษที่หมายถึงการควํ่าบาตรส่วนพาร์เนลล์กลายเป็นจุดศูนย์กลางของการดำเนินงานแนวใหม่ของการเคลื่อนไหวทางชาตินิยมที่เรียกว่า หนทางใหม่ (New Departure) ซึ่งผสมผสานกับการก่อความปั่นป่วนซึ่งบ้างก็รุนแรงมากโดยผู้คนในภาคการเกษตรและมีแรงสนับสนุนจากการที่สมาชิกสภาชาวไอริชใช้ยุทธวิธีขัดขวางการผ่านมติต่าง ๆ ของสภาสามัญ (obstructionism) จึงนับว่าพาร์เนลล์สร้างตนเองเป็นผู้นำแห่งชาติไอร์แลนด์นับตั้งแต่สมัยของแดเนียล โอคอนเนลล์ (Daniel O’Connell)* เมื่อ ๓๐ ปีก่อนสถานะของพาร์เนลล์เป็นที่รู้กันในระดับนานาชาติเมื่อเขาประสบความสำเร็จในการเดินทางในสหรัฐอเมริกาในต้นทศวรรษ ๑๘๘๐ เพื่อหาทุนสนับสนุนเขาเดินทางร่วม ๒๐,๐๐๐ กิโลเมตร ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ปราศรัยในกว่า ๖๐ เมือง และระดมทุนได้ ๖๐,๐๐๐ ปอนด์ เพื่อบรรเทาความอดอยากในไอร์แลนด์และ ๑๒,๐๐๐ ปอนด์ เพื่อกิจการของสันนิบาตที่ดิน

 ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. ๑๘๘๐ พาร์เนลล์ได้รับเลือกจากเขตเลือกตั้งถึง ๓ แห่ง คือ มีท เมย์โอ (Mayo) และคอร์ก (Cork) แต่เขาเลือกจะเป็นผู้แทนจากเขตคอร์กและเป็นผู้แทนเขตนี๋ไปตลอดชีวิต พาร์เนลล์ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคของชาวไอริชในสภาชุดใหม่ทั้งๆ ที่มีเสียงต่อต้านจากสมาชิกโฮมรูลสายกลาง และจากศาสนจักรคาทอลิก ที่ไม่มั่นใจในตัวเขานักเนื่องจากพาร์เนลล์นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ เมื่อสภาขุนนางปฏิเสธมาตรการสายกลางเพื่อการปฏิรูปที่ดินในไอร์แลนด์ พาร์เนลล์ก็รณรงค์ก่อความวุ่นวายในภาคการเกษตรครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้เขาได้เสียงสนับสนุนจากคริสตจักรในไอร์แลนด์และชาวไอริชสายกลาง ในสภาพาร์เนลล์ก็ใช้มาตรการขัดขวางการดำเนินกระบวนการต่าง ๆ เช่นขอแปรญัตติทุกมาตราของร่างกฎหมายต่าง ๆ ที่เสนอเข้ามา และอภิปรายให้ยืดเยื้อแบบข้ามวันจนในที่สุดสมาชิกสภาชาวไอริช ๓๖ คนถูกสั่งพักการเป็นสมาชิก แต่ในปีต่อมารัฐบาลของแกลดสโตนก็ออกพระราชบัญญัติที่ดินในไอร์แลนด์ (Irish Land Act) ซึ่งยอมรับหลักการที่ว่าผู้เช่าสามารถร้องขอให้ศาลวินิจฉัยอัตราค่าเช่าที่ดินที่เหมาะสมได้ แต่กฎหมายนี่ให้ประโยชน์แก่ผู้เช่าที่มีฐานะดีและไม่ครอบคลุมผู้เช่ายากจนเกือบ ๒๘๐,๐๐๐ คนซึ่งจำนวนมากเป็นผู้ค้างค่าเช่า การผ่านกฎหมายนี่นับเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ของสันนิบาตที่ดินแต่สมาชิกสันนิบาตคนสำคัญ ๆ ยังไม่พอใจจนมีเค้าว่าจะเกิด การแยกกลุ่ม พาร์เนลล์จึงหาทางยับยั้งการแตกร้าวด้วยการทดสอบกฎหมายที่ดินฉบับใหม่โดยคัดเลือกเรื่องที่ไม่สำคัญในสาระนักส่งให้ศาลที่ดินที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นพิจารณาแต่เขาใช้ถ้อยคำรุนแรงในการแสดงวาทะโจมตีอังกฤษ ผลที่ออกมาเป็นไปตามที่เขาคาดและอาจเป็นไปตามแผนของเขา กล่าวคือ แกลดสโตนส่งพาร์เนลล์และผู้นำในสันนิบาตที่ดินเข้าเรือนจำคิลเมนัม (Kilmainham) ในกรุงดับลินในวันที่ ๑๓ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๘๑ การนี่ทำให้พาร์เนลล์คงรักษาความนิยมในตัวเขาไว้ได้ และขณะเดียวกันก็ช่วยไม่ให้เขาต้องรับผิดชอบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมา พาร์เนลล์ส่ง “แถลงการณ์ไม่จ่ายค่าเช่า” (No Rent Manifesto) ออกมานอกคุก เรียกร้องไม่ให้ชาวนาจ่ายค่าเช่าที่ดินและควํ่าบาตรศาลที่ดินจนกว่า พวกเขาจะได้รับการปล่อยตัว

 หลังพาร์เนลล์ถูกจับกุม สันนิบาตที่ดินก็ถูกรัฐบาลอังกฤษสั่งยุบและเกิดการก่อความวุ่นวายในท้องที่ต่าง ๆ ในไอร์แลนด์เป็นระยะ ๆ มีการบันทึกว่าความรุนแรงในเขตชนบทเกิดขึ้น๓,๔๓๓ ครั้ง จนรัฐบาลอังกฤษเห็นว่าต้องอาศัยพาร์เนลล์เท่านั้นที่จะสามารถนำไอร์แลนด์กลับสู่ความสงบในช่วงฤดูใบไม้ผลิปีต่อมา พาร์เนลล์ก็เริ่มการเจรจาต่อรอง กับรัฐบาลอังกฤษเพื่อให้ได้รับการปล่อยตัวโดยผ่านร้อยเอกวิลเลียม เฮนรี โอเช (William Henry O’Shea) สมาชิกสภาสามัญชองพรรคโฮมรูลซึ่งพาร์เนลล์มีสัมพันธ์ลึกซึ้งกับภรรยาของเขาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๘๐ ในที่สุด พาร์เนลล์ก็ได้ข้อตกลงทำให้มีการลงนามในสนธิสัญญาคิลเมนัม (Kilmainham Treaty) ซึ่งเอื้ออำนวยประโยชน์สำคัญ ๆ หลายประการให้แก่ผู้เช่าที่ดินชาวไอริช เช่นรัฐบาลอังกฤษจะเสนอร่างกฎหมายที่จะแก้ปัญหาหนี้สินที่เกิดจากการ ตกค้างค่าเช่าให้แก่ชาวนาไอริช ๑๐๐,๐๐๐ คนเพื่อให้พวกเขาสามารถร้องทุกข์ต่อศาลที่ดินเพื่อค่าเช่าที่เป็นธรรมขณะที่พาร์เนลล์ก็สัญญาว่าจะใช้อิทธิพลทั้งหมดที่มีบรรเทาการก่อความวุ่นวายของชาวไอริชที่เช่าที่ดินทำกินพาร์เนลล์ ได้รับการปล่อยตัวในวันที่ ๒ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๘๒ และ เขาก็ข้ามส่งไปอังกฤษทันทีเพื่อปรากฏตัวอย่างเอิกเกริกในสภาสามัญ แต่เพียง ๔ วันต่อมา ลอร์ดเฟรเดอริก คาเวนดิช (Frederick Cavendish) หลานเขยของแกลดสโตนรัฐมนตรีช่วยกระทรวงกิจการไอร์แลนด์และทอมัสเบิร์ก (Thomas Burke) ปลัดกระทรวงที่เพิ่งเดินทางไปถึงกรุงดับลินไม่กี่ชั่วโมงเพื่อไปดำเนินการตามสนธิสัญญาคิลเมนัม ก็ถูกสมาชิก กลุ่มอินวิซิเบิล (Invicibles) ซึ่งเป็นพวกชาตินิยมหัวรุนแรงจัดใช้มีดผ่าตัดแทงอย่างเหี้ยมโหดที่สวนสาธารณะฟีนิกซ์ (Phoenix Park) จนเสียชีวิตทั้งคู่ เหตุการณ์นี่สร้างความสะเทือนใจและก่อความเกลียดชังการใช้ความรุนแรงไปทั่วพาร์เนลล์เองก็ตกใจกับเหตุการณ์ดังกล่าวจนถึงกับมีหนังสือไปถึงแกลดสโตนแจ้งว่ายินดีที่จะลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาสามัญ แต่แกลดสโตนไม่เห็นด้วย ต่อมาพาร์เนลล์ก็สามารถจัดการกวดขันให้ขบวนการชาตินิยมไอริชอยู่ในระเบียบอย่างเข้มงวดได้ และพยายามดำเนินนโยบายผ่อนปรนกับรัฐบาลอังกฤษมากขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๘๒ เขาจัดตั้งสันนิบาตแห่งชาติไอร์แลนด์ (Irish National League) ขึ้นแทนที่สันนิบาตที่ดินโดยให้มีลักษณะเป็นองค์กรทางการเมืองที่มีวินัยมากกว่า ทำหน้าที่เป็นกลไกทางการเมืองของพรรคโฮมรูลซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคไอริชในสภาหรือไอพีพี (Irish Parliamentary Party-IPP) สันนิบาตทำหน้าที่คัดเลือกผู้สมัครหาทุนให้พรรคพาคนไปออกเสียงในวันเลือกตั้ง จ่ายเงินให้สมาชิกสภาชาวไอริชที่ขัดสนแต่การดำเนินงานทั้งหมดขึ้นกับพรรคไอพีพีในรัฐสภาซึ่งหมายความว่าอยู่ในความควบคุมของพาร์เนลล์ สมัยที่บัตต์เป็นผู้นำนั้นสมาชิกสภาของพรรคมีทั้งคาทอลิกโปรเตสแตนต์ เจ้าของที่ดินและอาชีพต่าง ๆ และมีทั้งวิก (Whig) และทอรี การมีองค์ประกอบหลากหลาย ทำให้พรรคไม่ค่อยมีเอกภาพในด้านนโยบาย สมาชิกเสียงแตกเวลาออกเสียงในสภา แต่เมื่อพาร์แนลล์เป็นผู้นำ สมาชิกสภาที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์และพวกเจ้าของที่ดินลดลงพรรคมีสมาชิกสภาที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและเป็นชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นมีนักหนังสือพิมพ์และทนายความได้รับเลือกตั้งจำนวนมาก พวกเจ้าของที่ดินเชื้อสายอังกฤษตั้งเดิมและพวกทอรีแทบจะสูญหายหมด

 หลังการผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปการเลือกตั้งรัฐสภาอังกฤษฉบับที่ ๓ (Third Reform Bill) ใน ค.ศ. ๑๘๘๔ ซึ่งจะขยายสิทธิออกเสียงเลือกตั้งไปยังผู้ใช้แรงงานในไร่นาด้วยจากเดิมที่ครอบคลุมชนชั้นล่างเฉพาะผู้ใช้แรงงานในเมืองหรือเขตอุตสาหกรรม เป็นที่คาดกันว่าพาร์เนลล์จะสามารถนำสมาชิกพรรคเช้าสภาได้ ๘๐-๙๐ ที่นั่ง การมีเสียงเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ขนาดนี่ทำให้เสียงของกลุ่มพาร์เนลล์ไม่อาจถูกละเลยในสภาซึ่งพาร์เนลล์ก็รู้ดี กลุ่มผู้แทนไอริชจำนวน๘๖ คนปฏิญาณว่าจะ “นั่ง ปฏิบัติการ และออกเสียง” (sit, act, and vote) ตามเสียงส่วนใหญ่ของกลุ่มตนไม่เช่นนั้นก็จะสละที่นั่ง วินัยเช่นนี้ของกลุ่มการเมืองเป็นเรื่องใหม่ในสภาสามัญและการเมืองอังกฤษ และพาร์แนลล์ก็นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำให้พรรคอนุรักษนิยมและพรรคเสรีนิยมแข่งขันกันหาเสียงกับสมาชิกสภาชาวไอริชเพื่อดึงเป็นพวก พาร์เนลล์ปฏิเสธอย่างดูแคลนต่อการทาบทามของสมาชิกปีกหัวรุนแรงของพรรคเสรีนิยม (Liberal Party)* ซึ่งมีโจเซฟ เชมเบอร์เลน (Joseph Chamberlain)* และชาลส์ เวนต์เวิร์ท ดิลก์ (Charles Wentworth Dilke) เป็นผู้นำ บุคคลทั้งสองกล่าวว่าจะสนับสนุนเขาเรื่องไอร์แลนด์แต่พาร์เนลล์ก็ตกลงมีไมตรีกับพรรคทอรี (Tory Party) หรือพรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party)* ซึ่งทำให้สมาชิกสภาของพรรคทอรีและพรรคโฮมรูลของชาวไอริชออกเสียงร่วมมือกันเพื่อล้มรัฐบาลของพรรคเสรีนิยมในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๘๘๕ ในการรณรงค์เพื่อการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อมาระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๘๕ พาร์เนลล์ก็ออก “แถลงการณ์การออกเสียงให้ทอรี” (vote-Tory manifesto) เมื่อเห็นว่าแกลดสโตนหัวหน้าพรรคเสรีนิยมไม่ให้คำมั่นที่น่าพอใจว่าจะสนับสนุนนโยบายโฮมรูล ในการเลือกตั้งแม้ว่าพรรคโฮมรูลจะสามารถทำให้สมาชิกพรรคเสรีนิยมเสียที่นั่งแต่ก็ไม่สามารถบันดาลให้สมาชิกพรรคอนุรักษนิยมชนะเลือกตั้ง ด้วยเหตุนี้พรรคอนุรักษนิยมจึงแตกหักกับพรรคโฮมรูลทันทีและประกาศความตั้งใจว่าจะใช้มาตรการบีบบังคับไอร์แลนด์ต่อไปพรรคของพาร์เนลล์และพรรคเสรีนิยมจึงร่วมมือกันลงคะแนนล้มรัฐบาลพรรคอนุรักษนิยม แกลดสโตนจึงได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๘๖ ซึ่งหมายความว่าการจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้หรือไม่ขึ้นกับเสียงสนับสนุนจากพรรคของพาร์เนลล์

 แม้ว่าร่างกฎหมายโฮมรูลฉบับแรก (First Home Rule Bill) ของแกลดสโตนจะไม่ตรงกับความคาดหวังของชาวไอริชทั้งหมด แต่พาร์เนลล์ก็ยอมรับว่าเป็นพื้นฐานของการตกลงร่วมมือกันและเขาก็โน้มน้าวชาวไอริชให้สนับสนุนจนสำเร็จ อย่างไรก็ดี ในที่สุดร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกสภาสามัญควํ่าในการพิจารณาวาระที่ ๒ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๘๘๖ เมื่อรอเบิร์ต อาเทอร์ ทัลบอต แกสคอยน์-เซซิล ซอสส์เบอรี (Robert Arthur Talbot Gascoyne-Cecil Salisbury)* ผู้นำพรรคอนุรักษนิยมขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี พาร์เนลล์ก็ถอนตัวจากการมีบทบาทแข็งขันในทางการเมืองซึ่งเป็นทั้งเพราะปัญหาสุขภาพและเหตุผลทางการเมือง เมื่อพรรคโฮมรูลร่วมมือกับพรรคฝ่ายด้านคือพรรคเสรีนิยม พรรคจึงไม่สามารถดำเนินยุทธวิธีขัดขวางหน่วงเหนี่ยวการดำเนินงานของสภาเหมือนดังเก่า พาร์เนลล์ไม่ประสงค์ที่จะท้าทายการเป็นผู้นำของแกลดสโตนหรือแสดงตนเสมือนเป็นลูกน้องของแกลด สโตนในไอร์แลนด์ เขาก็เก็บตัวมากขึ้นตามแผนการหาเสียงในการเลือกตั้งของวิลเลียม โอเบรียน (William O’ Brien)

 แม้ว่าพาร์เนลล์จะหลบไปจากสายตาของมหาชนแต่ไม่นานศัตรูทางการเมืองก็ดึงเขาออกมาสู่เวทีสาธารณะ ใน ค.ศ. ๑๘๘๗ หนังสือพิมพ์รายวันThe Times ตีพิมพ์ชุดบทความเรื่อง “Parnellism and Crime” ซึ่งกล่าวหากลุ่มผู้นำโฮมรูลว่า มีส่วนร่วมก่ออาชญากรรมและเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ ในช่วงที่ชาวไอริชทำสงครามที่ดินในวันที่ ๑๘ เมษายน ค.ศ. ๑๘๘๗ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ยังได้ตีพิมพ์สำเนาจดหมายที่มีนัยว่าพาร์เนลล์เป็นผู้เขียนให้อภัยแก่ฆาตกรในเหตุการณ์ฆาตกรรมที่สวนสาธารณะฟีนิกช์เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๘๒ โดยมีลายเซ็นของพาร์เนลล์ด้วย พาร์เนลล์ประกาศทันทีว่าเป็นเรื่องเท็จ รัฐบาลของลอร์ดซอสส์เบอรีตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อไต่สวนเรื่องนี้ เกือบ ๒ ปีต่อมา ก็เป็นที่รับรู้ว่าผู้ปลอมแปลงเอกสาร คือ ริชาร์ด พิกอตต์ (Richard Pigott) นักหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นลมล้มพับลงระหว่างถูกไต่สวนและไม่นานต่อมาก็ได้ไปกระทำอัตวินิบาตกรรมที่กรุงมาดริด ภาพลักษณ์ของพาร์เนลล์ที่เคยดูเคลือบแคลง น่าสงสัยในสายตาของสมาชิกพรรคเสรีนิยมจึงแปรเปลี่ยนไป เขาได้รับการมองว่าเป็นวีรบุรุษผู้ยอมทนทุกข์ The Times ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน๕,๐๐๐ ปอนด์ให้แก่พาร์เนลล์เมื่อเรื่องราวกระจ่างแล้วขณะที่พาร์เนลล์เดินเข้าสู่สภาในวันที่ ๑ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๙๐ แกลดสโตนนำเพื่อนสมาชิกสภาลุกขึ้นยืนปรบมือต้อนรับเพื่อให้เกียรติแก่เขาช่วงนี้นับว่าเป็นช่วงสูงสุดของชีวิตพาร์เนลล์และดูเหมือนว่าการที่สภาจะผ่านร่างกฎหมายให้ไอร์แลนด์ปกครองตนเองอยูในวิสัยที่จะเป็นไปได้ แต่กลับปรากฏว่านับจากนี่ชีวิตการเมืองของพาร์เนลล์กลับดิ่งลงอย่างรุนแรง

 ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๘๙ ร้อยเอก โอเชซึ่งเคยร่วมงานกับพาร์เนลล์ได้ยื่นฟ้องหย่าแคเทอรีนโอเชผู้เป็นภรรยาและระบุว่าพาร์เนลล์เป็นชู้กับภรรยาของเขาหลายคนในพรรคโฮมรูลรับรู้ความสัมพันธ์ลึกซึ้งของคนทั้งคู่ที่มีมานานเกือบ ๑๐ ปี ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกัน๒ คนและพำนักอยู่ด้วยกันตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๘๖ ที่บ้านของฝ่ายหญิงที่เอลทัม (Eltham) มณฑลเซอร์รีย์ (Surrey) ร้อยเอก โอเช ซึ่งไร้สมรรถภาพก็ดูเหมือนยอมรับความสัมพันธ์ของคนทั้งคู่มาตลอด กล่าวกันว่าเขาต้องการรับผลประโยชน์จากป้าผู้มั่งคั่ง ของแคเทอรีนจึงนำเรื่องสู่สาธารณชนพวกชาตินิยมไอริชบางคนเห็นว่าการฟ้องร้องดังกล่าวเป็นความพยายามที่จะสลายพรรคโฮมรูลโดยการทำลายชื่อเสืยงของผู้นำของพวก เขาดังที่เคยพยายามมาแล้วกรณี The Times แต่ครั้งนี้ปัญหาหนักขึ้นเพราะสังคมอังกฤษสมัยวิกตอเรียเห็นว่าการหย่าร้างเป็นเรื่องอื้อฉาวการสมรสถือเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ไม่พึงมีการละเมิดและไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับชีวิตสมรสผู้อื่นผู้ใกล้ชิดพาร์เนลล์แนะนำให้เขาถอนตัวจากการเมืองชั่วคราวก่อนและปล่อยให้เรื่องเงียบหายไปเอง หลายคนเข้าใจดีว่าเขาถูกมุ่งร้ายเพราะร้อยเอกโอเขเองก็รับรู้และไม่ติดใจเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นแต่การมั่นคงในความรักอย่างลึกซึ้งและความปรารถนาที่จะได้สมรสกันทำให้พาร์เนลล์และแคเทอรีนปล่อยให้คดีดำเนินไปโดยไม่แก้ข้อกล่าวหา คำให้การซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเท็จของพยานของฝ่ายโอเชหลายคนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๘๙๐ ทำลายชื่อเสียงของพาร์เนลล์อย่างย่อยยับในที่สุดศาลตัดสินว่าพาร์เนลล์และแคเทอรีนโอเชเป็นชู้กันจริงจึงให้ร้อยเอก โอเชชนะคดีหย่าขาดจากภรรยาได้ในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๘๙๐ เมื่อคำตัดสินประกาศออกมาในชั้นแรกปฏิกิริยาของชาวไอริชคือการยืนหยัดเข้าข้างพาร์เนลล์ แต่ในอังกฤษ พวกโปรเตสแตนต์นอนคอนฟอร์มสต์ (Non-conformist) ต่อต้านพาร์เนลล์อย่างรุนแรงจนพรรคโฮมรูลรู้สึกว่ากำลังตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก แกลดสโตนซึ่งเคร่งศาสนาประกาศว่าถ้าพาร์เนลล์ยังเป็นผู้นำชาวไอริชต่อไป โอกาสที่จะได้สิทธิปกครองตนเองก็จบสินลง พาร์เนลล์ ทำทายแกลดสโตนโดยยืนยันที่จะคงเป็นผู้นำพรรค แต่ถ้าพรรคสนับสนุนพาร์เนลล์ก็เท่ากับจะทำลายการเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคเสรีนิยมซึ่งหมายความว่าต่อไปโอกาสที่จะได้เห็นการผ่านกฎหมายให้สิทธิปกครองตนเองของไอร์แลนด์ในเวลาไม่นานจบสิ้นลง แต่ถ้าปฏิเสธพาร์เนลล์ก็เท่ากับว่าพรรคหันหลังให้พาร์เนลล์ตามคำร้องขอของนักการเมืองอังกฤษ หลังจากการอภิปรายที่สะเทือนอารมณ์และยืดยาวถึง ๕ วันในที่ประชุมพรรค สมาชิกพรรคโฮมรูลจำนวน๔๔ คนซึ่งรวมผู้ที่เคยร่วมงานกับพาร์เนลล์อย่างใกล้ชิดก็ลงมติไม่ยอมรับให้พาร์เนลล์เป็นผู้นำต่อไปและไปจัดตั้งสหพันธ์แห่งชาติไอริช (Irish National Federation) ขึ้นโดยมีจอห์นดิลลอน (John Dillon) เป็นผู้นำและมีศาสนจักรคาทอลิกสนับสนุนแต่ฝ่ายข้างน้อยซึ่งมี ๒๗ คนยังคงสนับสนุนพาร์เนลล์และอยู่กับสันนิบาตแห่งชาติไอร์แลนด์ต่อไปโดยมี จอห์นเรดมอนด์ (John Redmond) เป็นผู้นำกลุ่ม

 หลังจากนั้นก็มีการรณรงค์เพื่อการเลือกตั้งซ่อม หลายครั้ง พาร์เนลล์ซึ่งไม่ยอมแพ้เดินทางในไอร์แลนด์อย่าง ไม่ย่อท้อเพื่อหาเสียงช่วยผู้สมัครของพรรค เขาสู้ทนกับการถูกขว้างปาด้วยโคลนและปูนตลอดจนการถูกด่าทอ แต่ต้องผิดหวังกับผลการเลือกตั้งโดยตลอด คาสนจักรคาทอลิกซึ่งต้องการเห็นความเป็นอิสระของไอร์แลนด์และชื่นชมบทบาทที่ผ่านมาของพาร์เนลล์ประกาศว่าโดยมาตรฐานทางศีลธรรมพาร์เนลล์ไม่เหมาะจะเป็นผู้นำอีก และการที่พาร์เนลล์ประกอบพิธีสมรสกับแคเทอรีนโอเชในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๙๑ ก็ยิ่งทำให้ฝ่ายคาทอลิกต่อต้านพาร์เนลล์มากขึ้นทั้งสองสมรสกันที่สำนักทะเบียนเมืองสเตย์นิง (Steyning) ในเวสต์ซัสเซกซ์ (West Sussex) เนื่องจากพาร์เนลล์ไม่สามารถจัดการสมรสในโบสถ์ได้ หนังสือพิมพ์ Freeman’s Journal ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์แนวชาตินิยมและเคยเป็นพันธมิตรสำคัญของพาร์เนลล์ก็ละทิ้งเขาหลังจากพาร์เนลล์เข้าสู่การสมรสสุขภาพของพาร์เนลล์เสื่อมลงอย่างรวดเร็วแม้หมอจะเตือนแต่พาร์เนลล์ก็ยังคงรักษาการนัดหมายโดยไปกล่าวปราศรัยที่เครกส์ (Creggs) มณฑลกอลเวย์ (Galway) ในวันที่ ๒๗ กันยายนปีเดียวกันท่ามกลางฝนที่ตกกระหนํ่าอย่างหนัก

 ชาลส์ สจวร์ต พาร์เนลล์ ซึ่งเคยมีผู้ยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ที่ไร้มงกุฎแห่งไอร์แลนด์ (the uncrowned king of Ireland) เช่นเดียวกับแดเนียล โอคอนเนลล์เมื่อ ๓๐ ปีก่อนก็เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม ณ บ้านพักของภรรยาในเมืองไบรตัน (Brighton) ในวันที่ ๖ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๙๑ ขณะอายุ ๔๕ ปี ชาวเมืองดับลินซึ่งสนับสนุนเขามาโดยตลอดจัดพิธีผิงศพเขาที่สุสานแกลสเนวิน (Glasnevin) อย่างงดงามในวันที่ ๑๑ ตุลาคม มีผู้มาร่วมงานศพเขาเกือบ ๒๕๐,๐๐๐ คนกวีและนักประพันธ์ชาวไอริชร่วมสมัยกับพาร์เนลล์อย่างวิลเลียม บัตเลอร์ ยีตส์ (William Butler Yeats) และเจมส์ จอยฃ์ (James Joyce) ช่วยสร้างตำนานให้แก่พาร์เนลล์ซึ่งนับถือนิกายโปรเตสแตนต์แต่เป็นผู้นำชาวโรมันคาทอลิกว่าเป็นนักปฏิวัติที่เก่งกล้าซึ่งถูกเหล่าลูกน้องกระทำการหักหลังอันเนื่องมาจากถูกกดดันจากอังกฤษซึ่งเป็นศัตรู มีการสร้างอนุสาวรีย์ รูปปั้นพาร์เนลล์ที่ถนนแซกวิลล์ (Sackville) ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ถนนโอคอนเนลล์ และเปลี่ยนชื่อถนนเกรตบริเตน (Great Britain) เป็นถนนพาร์เนลล์เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ทุกวันนี่ไอร์แลนด์ยังระลึกถึงเขาในวันที่ ๖ ตุลาคม ซึ่งเป็นวันที่เขา สิ้นชีวิต โดยเรียกว่า วันไอวี (Ivy Day) เนื่องมาจากวันที่ประกอบพิธีผิงศพเขา ผู้คนที่เคารพศพต่อแถวกันโดยเริ่มต้นแถวจากพวงหรีดที่ประดับด้วยเถาไอวีซึ่งสตรีผู้หนึ่งจากมณฑลคอร์กส่งมาให้ บรรดาผู้คนก็เด็ดใบไอวีที่ติดอยู่ตามกำแพงมาติดที่สาบเสื้อ นับแต่นั้นใบไอวีกลายเป็นสัญลักษณ์ของพาร์เนลล์เมื่อผู้คนที่ระลึกถึงเขามาชุมนุมกันในวันที่ ๖ ตุลาคม ก็จะติดช่อไอวีเล็ก ๆ บนเสื้อผ้า.



คำตั้ง
Parnell, Charles Stewart
คำเทียบ
นายซาลส์ สจวร์ต พาร์เนลล์
คำสำคัญ
- กฎหมายโฮมรูลฉบับแรก
- กลุ่มอินวิซิเบิล
- แกลดสโตน, วิลเลียม อีวาร์ต
- ขบวนการภราดรแห่งสาธารณรัฐไอร์แลนด์หรือไออาร์บี
- คาเวนดิช, ลอร์ดเฟรเดอริก
- เชมเบอร์เลน, โจเซฟ
- ดิลก์, ชาลส์ เวนต์เวิร์ท
- เดวิตต์, ไมเคิล
- แถลงการณ์ไม่จ่ายค่าเช่า
- ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่
- นิกายแองกลิคัน
- นิกายไอร์แลนด์
- บัตต์, ไอแซก
- บิกเกอร์, โจเซฟ
- พรรคทอรี
- พรรคเสรีนิยม
- พรรคอนุรักษนิยม
- พรรคไอริชในสภาหรือไอพีพี
- พระราชบัญญัติที่ดินในไอร์แลนด์
- พาร์เนลล์, ชาลส์ สจวร์ต
- พิกอตต์, ริชาร์ด
- ยีตส์, วิลเลียม บัตเลอร์
- วันไอวี
- สนธิสัญญาคิลเมนัม
- สภาขุนนาง
- สภาสามัญ
- สมัยวิกตอเรีย
- สหพันธ์เพื่อการปกครองตนเองแห่งบริเตนใหญ่
- สันนิบาตเพื่อการปกครองตนเอง
- สิทธิการปกครองตนเองของไอร์แลนด์
- สิทธิปกครองตนเอง
- โอคอนเนลล์, แดเนียล
- โอเบรียน, วิลเลียม
ช่วงเวลาระบุเป็นคริสต์ศักราช
1846-1891
ช่วงเวลาระบุเป็นพุทธศักราช
พ.ศ. ๒๓๘๙-๒๔๓๔
มัลติมีเดียประกอบ
-
ผู้เขียนคำอธิบาย
ชาคริต ชุ่มวัฒนะ
บรรณานุกรมคำตั้ง
แหล่งอ้างอิง
-